,

ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักการแพทย์
514 ถนนหลวง เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพมหานคร 10100
โทร 0 2622 5047 โทรสาร 0 2224 2969

Description: D:\พี่จ๋า(พรเพ็ญ)\Bangkok Health Fair\Bangkok Health Fair 2010\BHF 2010 - 1 ต.ค. 53 - 2\BHFอื่นๆ\logo ทั้งชีวิต...เราดูแล\Logo ทั้งชีวิต เราดูแล.jpg

Cloud Computing เทคโนโลยีบริหารทางการแพทย์ กทม.

วันที่ 20 พ.ย. 56 เวลา 9.30 น. นพ.สามารถ ตันอริยกุล ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ พร้อมผู้บริหารสำนักการแพทย์ ให้การต้อนรับ นายพีระพงษ์  สายเชื้อ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดงาน “การประชุมพิจารณา  การนำเทคโนโลยี Cloud Computing ประยุกต์ใช้กับงานตามภารกิจหลัก    จัดโดย สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ณ ห้องประชุมเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ ชั้น 20 อาคารอนุสรณ์ 100 ปี โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพฯ ซึ่งได้นำระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS)   มาเป็นเครื่องมือสนับสนุนในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพให้สามารถรองรับประชาชนที่มารับบริการ           ในโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทุกปี โดยในปี 2556 มีผู้มารับบริการมากกว่า 3 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปี 2555  ถึงร้อยละ 6 ดังนั้น เพื่อเป็นต้นแบบด้านการบริหารมหานคร ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว จำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยส่งเสริมให้มีระบบบริการที่มีมาตรฐานและดีที่สุดสู่ประชาชน (Best Practice and Best Service Organization) เพื่อให้ “ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจสูงสุด ภายใต้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่อย่างจำกัด” ดังนั้น การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยี Cloud Computing จึงเป็นทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติสอดคล้อง และรองรับการใช้งานของระบบสารสนเทศโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายพีระพงษ์ฯ กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร ได้จัดทำแผนแม่บทสารสนเทศ ระยะ 4 ปี พ.ศ.2556 – 2559 โดยกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรชั้นนำในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาเมือง บริการประชาชน บริหารจัดการ และมุ่งเน้นสู่    มหานครอิเล็กทรอนิกส์” โดยนัยคือ การมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเมืองอย่างทันสมัย รวดเร็ว      มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ประชาชนสามารถรับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย มีบริการสาธารณะให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียม ดังนั้น การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาเพื่อสนับสนุนงานบริหารและการบริการประชาชน จึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ทันสมัย มีความคุ้มค่า โดยเฉพาะการให้บริการผู้ป่วยซึ่งเป็นภารกิจหลักของสำนักการแพทย์

Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่มีลักษณะการทำงานผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งจะมีประโยชน์ในเรื่องการไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่การเก็บข้อมูล และ/หรือ ทรัพยากรที่ใช้ในการประมวลผล รวมทั้งการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ แต่การพึ่งพาระบบเครือข่ายเป็นหลัก มีข้อพึงระวังในเรื่องความเสถียรของระบบเครือข่าย รวมทั้งความเสี่ยงในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ ตลอดจนความคงอยู่ของข้อมูลในกรณีที่ต้องมีการนำข้อมูลไปใช้ประกอบการรักษาพยาบาลต่อเนื่องในอนาคต